ประวัติความเป็นมา

1365-large-o12048551-0

ผีตาโขนมีที่มาจากประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ซึ่งเป็นประเพณีมาแต่โบราณของชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งจะจัดขึ้นทุกๆปี ในช่วง เดือนเจ็ด ถึงเดือนแปด (ตามจันทรคติ) เป็นประเพณีที่รวมเอาความเชื่อและศรัทธาของชาวอีสานมารวมกันไว้ คือ งานประเพณีบุญพระเวส (บุญมหาชาติชาวด่านซ้ายเรียกบุญหลวง) บุญบั้งไฟ(ชาวอีสานทั่วไปจะจัดงานบุญพระเวส ในเดือน สี่ และบุญบั้งไฟ ในเดือน หก) ซึ่งในประเพณีดังกล่าวจะมีลักษณะที่แสดงออกถึงความสนุกสนานบรรดาผีตาโขน ที่ตามเสด็จของขบวนแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง ซึ่งบรรดาผู้เข้าร่วมจะสวมหน้ากาก ทำจากหวดนึ่งข้าวและทางมะพร้าวตัดเป็นรูปหน้าและประกอบจมูกยื่นยาว ตัดรูปตาและเขียนลวดลายตามความถนัดของช่างแต่ละคน เพื่อสวมบนศีรษะและผู้ที่สวมหน้ากากจะสวมชุดที่ยาวรุ่มร่าม ขาดรุ่งริ่ง คล้ายผี เพื่อให้เกิดความน่ากลัว แต่ปัจจุบันรูปแบบได้เปลี่ยนแปลงไปบ้าง โดยเน้นที่ลวดลายความสวยงาม สามารถนำไปเก็บหรือประดับตกแต่งได้ (เดิมหน้ากากผีตาโขนเมื่อสวมใส่เสร็จพิธีงานบุญแล้วจะต้องทิ้งลงแม่น้ำเท่านั้น ถ้าผู้ใดเก็บไว้จะมีเหตุที่ไม่ดีเกิดขึ้น) โดยในตำนานที่เล่าขาน คำว่า “ผีตาโขน” มีที่มาจากหลายลักษณะ คือ บางกลุ่มก็บอกว่าผีตาโขน มาจาก คำว่า ผีตามคน(ตามขบวนพระเวสสันดร) และเพี้ยน เป็นผีตาโขน ประเด็นที่ 2 คือผีที่ใส่หน้ากากคล้ายสวมหัวโขน แต่ก็มีบางกลุ่มที่เล่าว่าที่มาของผีตาโขน เดิม เรียก ม้าตาโขน เพราะขบวนที่ตามเสด็จส่งพระเวสสันดร จะขี่ม้าซึ่งตกแต่งลวดลายบนใบหน้า คล้ายการเขียนรูปหน้ากากในปัจจุบัน

ใส่ความเห็น